ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร?

Operating System

วันนี้เราจะมาเจาะลึกในเรื่องของซอฟต์แวร์ระบบกันแบบจริงๆจังๆ ซึ่งจะต่อจากบทความที่เราเคยกล่าวถึงประเภทของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กันไปเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว ซอฟต์แวร์ระบบที่ว่าก็คือซอฟต์แวร์ที่จะอยู่ใกล้กับฮาร์ดแวร์มากที่สุด หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือซอฟต์แวร์ที่เอาไว้จัดการฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ คอยสั่งให้ฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นส่วนทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะมาดูกันแบบละเอียดๆว่าซอฟต์แวร์ระบบมีกี่ประเภท และมีอะไรบ้างดังต่อไปนี้ ซอฟต์แวร์ระดับไบออส (BIOS) – ในส่วนของซอฟต์แวร์สำหรับ BIOS จะเป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ใกล้กับฮาร์ดแวร์มากที่สุด เราจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ไม่สามารถแก้ไขส่วนของตัวโปรแกรมได้ ส่วนมากจะถูกติดตั้งซอฟต์แวร์มาจากโรงงาน หรือทางผู้ผลิตเลย แต่เราสามารถอัพเดตซอฟต์แวร์ของ BIOS ได้ (Flash BIOS) หรือเรียกอีกอย่างว่าการอัพเดท Firmware (เฟิร์มแวร์) ให้กับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) – เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่อยู่ใกล้กับเรามากที่สุด ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการในปัจจุบันก็มีให้เห็นกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ Windows, Linux และ Mac OS ส่วนระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆก็ได้แก่ Chrome OS เป็นต้น ส่วนระบบปฏิบัติการที่อยู่ในโทรศัพท์มือถืออย่างเช่น iPhone ก็คือว่าเป็นซอฟต์แวร์ระบบเช่นกัน emailprint

email

2 ประเภทของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

บทความนี้เรามาว่ากันด้วยเรื่องของ “ซอฟต์แวร์” แบบเน้นๆ ซึ่งเราได้เขียนอธิบายไปเบื้องต้นแล้วว่าซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และมันก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญมากๆก็คือเป็นส่วนที่จะขับเคลื่อนฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามที่ซอฟต์แวร์สร้างขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลว่าผลลัพท์ของ 1000 * 5 จะได้เท่าไร? เป็นต้น ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซอฟต์แวร์ระบบ – เป็นซอฟต์แวร์หลักที่เราไม่สามารถแก้ไขหรือจัดการอะไรได้เลย เป็นซอฟต์แวร์ส่วนที่ผูพัฒนาระบบแทรกเข้ามาในระบบ หรือในหน่วยความจำที่เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ และเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการขับเคลื่อนระบบคอมพิวเตอร์ไปข้างหน้าได้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ – เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมเมอร์ หรือการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานกับซอฟต์แวร์ระบบได้ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม Firefox เป็นต้น หมายเหตุ: สิ่งที่เราสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานได้ทั่วๆไป หรือว่าโปรแกรมที่เราพบเห็นได้ทั่วไปนั้น เหล่านี้เรียกว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วยกันทั้งสิ้น