เจาะลึก Sharedware (แชร์แวร์)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

Sharedware (แชร์แวร์) เป็นการนำเอาซอฟต์แวร์หลายๆประเภทเข้ามารวมกันไว้ นั่นก็คือซอฟต์แวร์แบบเสียเงินและซอฟต์แวร์แบบฟรี ซึ่งสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือประเภทของซอฟต์แวร์ที่ถูกเรียกว่าแชร์แวร์ มันมีความหมายในตัวมันเองดังต่อไปนี้ เป็นซอฟต์แวร์ฟรี สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีๆ โดยที่ไม่มีวันหมดอายุใดๆ มีข้อจำกัดด้านของการใช้งาน หากต้องการใช้คุณสมบัติเพิ่มเติม ต้องเสียค่าบริการในส่วนนั้นๆ การอัพเดตจากฟรีไปเป็นเสียงเงิน อาจจะมีหลาย Package ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน อัตราค่าบริการของแต่ละ Package จะไม่เท่ากัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ซอฟต์แวร์ในส่วนของ Freeware ก็ยังถือว่าเป็นของฟรี สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานได้ฟรีๆ เพียงแต่ว่าความสามารถอาจจะไม่ได้เท่ากับตัวเสียเงินนั่นเอง ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทนี้ก็มีอยู่ให้เห็นบ่อยๆ ขอยกตัวอย่างโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีชื่อว่า AVG ซึ่งจะมีเวอรชั่นฟรีให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ สามารถอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสตัวใหม่ๆจากเซิฟเวอร์หลักของผู้พัฒนาได้เลย ไม่ต้องไปหา CD-Key หรือหาตัว Crack มาใช้งานให้ยุ่งยาก แถมยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย สำหรับเวอร์ชั่นฟรีจะเขียนไว้ว่า AVG Free Edition เหมาะสำหรับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ที่ใช้เล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป ไม่เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความปลอดภัยสูงๆ เช่น คอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Sharedware ก็ยังถือว่ามีประโยชน์และมีความสามารถของคำว่า Freeware อยู่แล้ว และส่วนมากความสามารถที่ให้เราได้ใช้งานฟรีนั้นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว นอกจากจะต้องการความสามารถขั้นสูงจริงๆ ถึงจะเสียเงินเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถมากกว่าเดิมนั่นเอง emailprint

email

เจาะลึก Freeware (ฟรีแวร์)

Freeware

Freeware (ฟรีแวร์) ถูกจัดเป็นโปรแกรมให้อยู่ในประเภท ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เราๆทั้งหลายสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งบนระบบปฏิบัติการที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่ได้ อาทิเช่น Windows, Linux และ Mac OS ได้ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่เป็นฟรีแวร์จุดสังเกตุนั้นสามารถอธิบายได้ดังนี้ สามารถโหลดโปรแกรมได้จากเว็บไซต์ผู้พัฒนาโดยตรง จะเห็นประเภทของซอฟต์แวร์ที่เขียนไว้ว่า “Freeware” หรือหากเป็นภาษาไทยก็จะเขียนว่า “ฟรีแวร์” จะระบุขนาดของซอฟต์แวร์ประเภทฟรีแวร์หรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนมากจะถูกระบุขนาดของซอฟต์แวร์ไว้ จะระบุระบบปฏิบัติการไว้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดได้ตรงกับระบบปฏิบัติการที่เลือก บางซอฟต์แวร์ก็จะมีเฉพาะระบบปฏิบัติการเดียวเท่านั้น แต่บางซอฟต์แวร์ก็จะแยกไว้ให้ดาวน์โหลดเฉพาะระบบปฏิบัติการนั้นๆอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกอย่างก็คือหลังจากที่ดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นๆมาแล้ว และติดตั้งพร้อมใช้งาน จะไม่มีเมนูการสั่งซื้อสินค้าหรือโปรแกรม หรือซื้อใบอนุญาติ (License) ในการใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ และบางโปรแกรมก็อาจจะมีโฆษณาแทรกเข้ามาให้รำคาญกันบ้างเล็กน้อย แต่ก็เป็นวิธีการสร้างรายได้ให้กับโปรแกรม Freeware เหล่านั้น เพื่อให้พวกทีมพัฒนามีงบประมาณในการพัฒนาต่อไป เพราะฉะนั้นก็เห็นใจซึ่งกันและกัน หากสนใจโฆษณาก็จะช่วยผู้พัฒนาโปรแกรมทำการคลิกดูบ้างก็ไม่เสียหายอะไร ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็นโปรแกรม KMPlayer นั่นเอง นอกจากนี้โปรแกรม Freeware ยังมีจุดสังเกตุอยู่อีก 1 อย่าง และเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆก็คือในขณะที่ติดตั้งโปรแกรม ควรดูและอ่านให้ดีซักหน่อย เพราะว่าบางโปรแกรมก็จะมีการติ๊กเพื่อติดตั้งโปรแกรมอื่นๆนอกจากโปรแกรมที่เราดาวน์โหลดมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมแปลงไฟล์ Format Factory ซึ่งเวลาติดตั้ง จะมีการติ๊กโปรแกรมอื่นๆที่แทรกเข้ามา หากเราไม่ต้องการก็ติ๊กออกก็ได้ ซึ่งส่วนนี้ก็จะเป็นสิทธิ์ของเราในการติดตั้งโปรแกรมลงคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง…

ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร?

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ Application Software เป็นซอฟต์แวร์อีกประเภทที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์รู้จักกันและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เห็นได้โดยทั่วๆไป ถูกสร้างจากโปรแกรมเมอร์มากหน้าหลายตา มีทั้งของฟรีและของเสียเงิน โดยส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ผู้พัฒนา และเว็บไซต์ของผู้เผยแพร่ซอฟต์แวร์อย่างเว็บไซต์เรา เราสามารถอธิบายได้ 2 ประเภทดังนี้ ซอฟต์แวร์ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ซอฟต์แวร์เสียเงิน (มีค่าใช้จ่าย) โดยเราจะดูไปทีละอย่างว่าแต่ละอย่างนั้นยังสามารถแยกออกไปได้เป็นข้อย่อยๆอีกด้วย ซอฟต์แวร์ฟรี ซอฟต์แวร์ฟรีหลักๆแล้วสามารถที่จะแบ่งออกได้ดังนี้ Freeware (ฟรีแวร์) – โปรแกรมฟรีที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานได้แบบฟรีๆ ไม่มีข้อผูกมัดใดๆทั้งสิ้น อาจจะมีข้อตกลงในการใช้งาน เงื่อนไขของการใช้งาน เป็นต้น หากจะยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัด ก็คงขอยกตัวอย่างโปรแกรม Line PC ซึ่งเอาไว้แชทมันๆและหลายๆคนก็รู้จักกันเป็นอย่างดี Open Source (โอเพนซอร์ซ) – โปรแกรมที่เป็นของฟรีเช่นกัน แต่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา Application เหล่านั้นได้อีกด้วย เช่นพัฒนาส่วนเสริมของ Firefox เป็นต้น Free Trial (ทดลองใช้) – จะว่าเป็นโปรแกรมฟรีเลยก็ไม่ใช่ และจะว่าเป็นโปรแกรมเสียเงินเลยก็ไม่ใช่ เพราะว่าสามารถใช้งานฟรีได้ตามเวลาที่กำหนด เป็นระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้ฟรีตามจุดประสงค์เพื่อให้ทดลองใช้งานโปรแกรมก่อนที่จะทำการซื้อใช้งาน หากมีความพึงพอใจในโปรแกรมนั้นๆแล้ว สามารถสั่งซื้อเพื่อใช้งานได้อย่างถาวรได้ ยกตัวอย่างเช่นโปรแกรม…