การ์ดจอ หน่วยประมวลผลแสดงผลภาพหน้าจอ

การ์ดจอ มีเชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างเยอะ ยกตัวอย่างเช่น Video Card, Display Card, Graphic Adapter, Graphics Card, Video Card, Video Board, Video Display Board, Display Adapter, Video Adapter, etc. แต่ในที่นี้เราจะขอใช้คำว่า Graphics Card (กราฟฟิคการ์ด) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่จะเรียกใช้งานแบบไหน แต่โดยส่วนมากแล้วจะเข้าในกันว่าเป็นฮาร์ดแวร์ที่เอาไว้ใช้ประมวลผลทางด้าน Graphic เพื่อที่จะแสดงผลออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เราได้เห็น หากจะต้องแบ่งการ์ดจอออกเป็นแต่ละประเภท ก็คงแบ่งได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะยกตัวอย่างการแบ่งการ์ดจอได้ดังนี้

  • แบ่งตามลักษณะของฮาร์ดแวร์
  • แบ่งตามบริษัทผู้ผลิต
  • แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน

ประเภทของการ์ดจอตามลักษณะของฮาร์ดแวร์

เราสามารถแบ่งการ์ดจอให้อยู่ในรูปแบบลัษณะของฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้ 2 ประเภทดังนี้

  1. การ์ดจอออนบอร์ด (On-Board) – คือการ์ดจอที่ถูกติดตั้งมาบนแผงวงจร Mainboard (เมนบอร์ด) โดยจะเป็นแผงวงจรเดียวกับ Mainboard ไม่สามารถถอดออกได้ และไม่สามารถอัพเกรดได้
  2. การ์ดจอแยก (Out-Board) – คือการ์ดจอลักษณะเป็นการแยกจาก Mainboard (เมนบอร์ด) โดยชัดเจน เป็นคนละชิ้่นส่วนกัน แต่การ์ดจอจะเสียบอยู่บนเมนบอร์ดในลักษณะการเชื่อมต่อภายนอก สามารถถอดเข้าถอดออกได้ และสามารถที่จะอัพเกรดเอาตัวใหม่มาใส่ได้ (การอัพเกรดการ์ดจอ ขึ้นอยู่กับการรองรับของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ และแหล่งไฟเลี้ยงระบบ (Power Supply) ด้วย ผู้ใช้งานควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน)

ในลักษณะของการประมวลผลทั้ง 2 แบบด้านบนนี้ ส่วนที่แตกต่างกันเราสามารถสรุปได้ดังนี้

Graphics Processing Unit (GPU)

  • การ์ดจอออนบอร์ดจะใช้งานการประมวลผลกราฟฟิคจาก CPU หน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับการ์ดจอแยกจากเมนบอร์ดนั้นจะใช้งาน Graphics Processing Unit (GPU) แยกจาก CPU อย่างชัดเจน ทำให้เรื่องประสิทธิภาพการประมวลผลกราฟฟิคนั้น การ์ดจอแยกจะดีกว่ามากๆ เพราะไม่รบกวนการทำงานของระบบ CPU ซึ่งจะต้องประมวลผลทุกๆส่วนของระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว (แต่หากการใช้งานทั่วๆไปก็คงไม่เห็นผลมากนัก นอกจากการที่จะต้องประมวลผลภาพกราฟฟิคสูงๆ เช่น การเล่นเกมส์ เป็นต้น)
  • การ์ดจอแบบแยกจะต้องซื้อมาใส่เพิ่มกับเมนบอร์ด หากว่าเมนบอร์ดมีการ์ดจอแบบออนบอร์ดอยู่แล้ว ให้เสียบสายหน้าจอที่การ์ดจอที่เราทำการซื้อมาใส่ หากเสียบสายที่เมนบอร์ด เท่ากับว่าเราใช้งานการ์ดจอแบบออนบอร์ด เพราะฉะนั้น โปรดระวังในเรื่องของการเสียบสายหน้าจอด้วย (ปัจจุบันเมนบอร์ดบางรุ่นไม่มีการ์ดจอแบบออนบอร์ดมาให้ จะต้องซื้อการ์ดจอแยกมาใส่เพิ่มเอง)
  • การทำงานของ GPU ย่อมเร็วกว่า CPU (ทางด้านการประมวลผลกราฟฟิคเท่านั้น) เพราะว่า GPU จะเน้นจำนวน Core ที่เยอะกว่า CPU แต่หมายถึง 1 Core ของ GPU จะมีได้ประมวลผลเร็วเทียบเท่ากับ 1 Core ของ CPU เนื่องจากการประมวลผลกราฟฟิคของการ์ดจอจะเน้นการทำงานหลายๆ Core พร้อมๆกัน (Multi-Core Processing) ซะมากกว่า

ประเภทของการ์ดจอตามผู้ผลิต

ในปัจจุบัน บริษัทที่ผลิตการ์ดจอออกมาจำหน่ายมีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัทใหญ่ๆ ซึ่งเราจะได้เห็นกันในตลาดการ์ดจอทั่วไป ในส่วนนี้เราจะพูดถึงการ์ดจอแบบแยกเท่านั้น เพราะสามารถซื้อขายและนำมาเปลี่ยนบนเมนบอร์ดได้เลย

ATI and Nvidia

  1. Nvidia – สัญญลักษณ์รูปตาสีเขียว มีประสิทธิภาพสูง และราคาค่อนค้างจะสูงหากเทียบกับ ATI หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน
  2. ATI – สัญญลักษณ์เป็นสีแดงคล้ายไฟ มีประสิทธิภาพพอสมควร หากจะมองทางด้านเทคโนโลยีอาจจะยังไม่สามาระเทียบเท่ากับ Nvidia ได้ แต่ราคาจะถูกกว่า หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน

ประเภทการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งาน

เราสามารถแบ่งการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งานได้ทั้งหมด 4 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. การใช้งานแสดงผลทั่วไป – ไม่เน้นกราฟฟิคเลย ส่วนมากจะใช้งานเป็นการ์ดจอแบบ On-Board หรือการ์ดจอที่ติดมากับ Mainboard อยู่แล้ว ไม่มีการเสียบการ์ดจอเพิ่ม
  2. การใช้งานแสดงผลกราฟฟิคเล็กน้อย – ส่วนมากจะเน้นทางด้านดูหนัง เน้นความบันเทิง แต่ไม่รวมการเล่นเกมส์แบบ 3D หรือ Animation บนกราฟฟิคสูงๆ จะใช้งานการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพการแสดงผลต่ำและราคาถูก แต่รองรับการแสดงผลระดับ HD ขึ้นไป
  3. การเล่นเกมส์และการแสดงผล 3D – เน้นการเล่นเกมส์บนภาพที่สมจริงเป็นหลัก ส่วนมากจะใช้งานการ์ดจอที่รองรับการแสดงผลแบบ 3 มิติ หรือการ์ดจอที่มีการแสดงผลที่สูงมากๆ ราคาของการ์ดจอชนิดนี้อาจจะโดดสูงอยู่บ้าง หากอยากได้ตัวที่สามารถเล่นเกมส์ได้แบบไม่กระตุก หรืออาจจะเป็นลักษณะของการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว (เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มาช่วยกันทำงาน ซึ่งจะพูดถึงในบทความต่อๆไป)
  4. การใช้งานด้าน Graphic Workstation – เน้นทางด้านการทำงานด้านการออกแบบ การใช้งานโปรแกรมออกแบบสร้างผลงานทางด้านกราฟฟิค ซึ่งจะต้องใช้การประมวลผลของระบบ Graphics Processing Unit (GPU) อยู่ตลอดเวลาและแบบ Real-Time เพื่อให้งานเดินไปอย่างราบรื่น การ์ดจอที่ใช้งานจะต้องมีประสิทธิภาพสูงมากๆ และมีการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว หรือต่อพ่วง GPU เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการประมวลผลภาพที่สมบูรณ์สมจริงและรวดเร็ว ปัจจุบันการ์ดจอชนิดนี้ได้แก่ NVIDIA QUADRO และ AMD FirePro ซึ่งราคาจะสูงมากๆ ไม่เหมาะกับการนำมาเล่นเกมส์ซักเท่าไร เพราะว่าคอเกมส์ทั้งหลาย แค่ใช้การ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ก็เหลือๆแล้ว

การดูความเร็วของการ์ดจอด้วย GPU-Z

ในที่นี้เราจะพูดถึงเรื่องของการ์ดจอแบบแยกเท่านั้น เนื่องจากการ์ดจอแบบแยกจะมีหน่วยประมวลผลกราฟฟิคที่มีชื่อว่า GPU ซั่งมันก็คล้ายๆกับ CPU ก็คือจะมีในเรื่องของความเร็ว อัตราการรับส่งข้อมูล หน่วยความจำ เทคโนโลยีการผลิต และอื่นๆ เพื่อที่จะเลือกการ์ดจอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงได้มีตัวช่วยในการเลือกดูความเร็วของการ์ดจอกันด้วยโปรแกรม GPU-Z (https://downloaddd.in.th/251/download-gpu-z) โปรแกรมนี้คล้ายๆกับ CPU-Z แลพเป็นผู้พัฒนาเดียวกัน แต่สำหรับโปรแกรม GPU-Z นั้นใช้งานทางด้านการแสดงผลข้อมูล GPU หน่วยประมวลผลกราฟฟิคโดยเฉพาะ เราจะขอยกตัวอย่างการ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ของฝั่ง ATI อย่างรุ่น ATI AMD Radeon HD 7800 Series มาฝากกัน

GPU-Z AMD Radeon HD 7800 Series

GPU-Z AMD Radeon HD 7800 Series

สิ่งที่ผู้ใช้งานดูเป็นส่วนมากจะได้แก่ข้อมูลดังต่อไปนี้ (วิธีการดู GPU-Z)

  • Name – ใช้ดูชื่อของการ์ดจอ นอกจากนั้นยังบอกถึงบริษัทผู้ผลิตอีกด้วย
  • GPU – ใช้ดูชื่อของ GPU ที่ใช้ในการประมวลผล
  • Technology – ใช้ดูเทคโนโลยีที่ใช้ผลิต ซึ่งจะบอกเป็นขนาดของ GPU
  • Memory Type – ใช้สำหรับดูว่า Memory (หน่วยความจำ) ของ GPU เป็นแบบใด ซึ่งในปัจจุบันก็คงจะได้เห็น GRRD5 กันแล้ว
  • Memory Size – ใช้สำหรับดูขนาดของ Memory ที่มีให้
  • DirectX Support – ใช้ดูว่าการ์ดจอที่ใช้งานอยู่ รองรับ DirectX เวอร์ชั่นอะไร (เวอร์ชั่นที่สูงที่สุด)
  • Bus Width – ใช้สำหรับดูขนาดช่องทางในการรับส่งข้อมูล ยิ่งเยอะยิ่งเร็ว
  • Bandwidth – ใช้สำหรับดูความเร็วในการรับส่งข้อมูล ยิ่งเยอะยิ่งเร็ว ค่านี้สัมพันธ์กับ Bus Width
  • GPU Clock – ความเร็วของ GPU ซึ่งจะมีหน่วยความเร็วเหมือนๆกับ CPU ที่เป็นแบบ Ghz จากรูปก็คือ 0.86Mhz นอกจากนั้นช่องต่อมา เราสามารถที่จะดูความเร็ว Bus ของ Memory ได้อีกด้วย
  • Default Clock – แสดงผลความเร็วตั้งต้นที่ผลิตมาจากโรงงาน จากรูปจะเห็นว่าเท่ากับ GPU Clock เลย เพราะว่าไม่ได้ทำการ Overclock GPU มันจึงมีค่าเท่ากัน
  • ATI CossFire – เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอหลายๆตัวร่วมกันประมวลผลกราฟฟิค ซึ่งจากรูปก็จะเป็นแบบ Disabled ก็คือไม่ได้เปิดใช้งาน หรือใช้งานการ์ดจอเพียงตัวเดียวเท่านั้น
email
5.00 avg. rating (97% score) - 2 votes

แสดงความคิดเห็น

ความเห็น