เจาะลึก Free Trial (ทดลองใช้)

Free Trial

Free Trial (ทดลองใช้) โปรแกรมอีก 1 ประเภทที่เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เราสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานได้แบบฟรีๆ แต่มีข้อแม้ว่าในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้งานนั้นเป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่ให้เราใช้งานในระยะเวลาที่กำหนด หากเลยระยะเวลาที่ผู้พัฒนากำหนดจะไม่สามารถเข้าใช้งานโปรแกรมได้ จะต้องสั่งซื้อโปรแกรมหรือใบอนุญาติซอฟต์แวร์ (License) มาใช้งานเท่านั้น อาจจะเป็นในลักษณะของการใส่ License Code เพื่อทำการ Active ซอฟต์แวร์นั้นๆ เพื่อให้ใช้งานซอฟต์แวร์ต่อได้ ยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใกล้เคียงที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ทดสอบใช้งานก็คือ Internet Download Manager (IDM) ที่เปิดให้ใช้งานโปรแกรมช่วยโหลดแบบฟรีๆในระยะเวลา 30 วัน ข้อสังเกตุของโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภท Free Trial นั้นจะเป็นในลักษณะของการใช้งานทรัพยากรซอฟต์แวร์เหมือนกับเวอร์ชั่นจริงๆ หรือเหมือนกับเวอร์ชั่นที่ซื้อขาย เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจ ประทับใจ หากต้องการใช้งานออฟชั่นความสามารถดั่งกล่าวก็จะได้ตัดสินใจซื้อมาใช้งานได้อย่างไม่มีข้อลังเลใจอะไรทั้งสิ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นหากคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมแบบ Free Trial ไปแล้วและหมดอายุการใช้งานสำหรับทดลองใช้งานแล้ว จะไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์นี้อีกครั้งเพื่อใช้ทดลองใช้งานได้ (นอกจากการกำหนดซอฟต์แวร์แบบหมดจด หรือการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่เท่านั้น) emailprint

email

เจาะลึก Open Source (โอเพนซอร์ซ)

Open Source

Open Source (โอเพนซอร์ซ) หมายถึงซอฟต์แวร์ประเภทฟรีอีกชนิดหนึ่งที่นอกเหนือจาก Freeware (ฟรีแวร์) แต่ข้อแตกต่างอยู่ที่ว่า Open Source จะเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเห็น Source Code ของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นได้ด้วย หรือว่าใครที่มีความรู้และต้องการที่จะนำเอาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆไปพัฒนาต่อยอดในแนวทางของตัวเองก็ได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงและข้อกำหนดของผู้พัฒนาด้วย แต่โดยส่วนมากก็จะเปิดให้แบบอิสระเลย Open Source อาจเรียกได้อีกแบบว่า “ซอฟต์แวร์เสรี” ไม่มีข้อจำกัดในการนำเอาไปใช้งาน Open Source ยังรวมไปถึงระบบปฏิบัติการชื่อดังของโลกที่มีชื่อว่า Linux ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดให้ผู้ใช้งานได้ใช้งาน รวมถึงมีนักพัฒนาระบบทั้งหลายนำเอา Linux มาสร้างประโยชน์ให้สังคมออนไลน์มากมาย ไม่ว่าจะนำเอาไป Config เป็น Web Server ที่นำเอาซอฟต์แวร์เสรีอย่างเช่น PHP และ MySQL รวมไปถึง phpMyAdmin มาใช้งาน ซอฟต์แวร์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์ Open Source ด้วยกันทั้งสิ้น หากจะพูดถึงซอฟต์แวร์ Open Source ในฝั่งของระบบปฏิบัติการ Windows ก็คงจะยกตัวอย่างโปรแกรมที่ไม่ได้ไกลตัวผู้ใช้งานมากนัก อย่างเช่นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Firefox ก็ถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ Open Source สามารถนำเอา Source Code มาพัฒนาต่อยอดได้เองเช่นกัน…

เจาะลึก Freeware (ฟรีแวร์)

Freeware

Freeware (ฟรีแวร์) ถูกจัดเป็นโปรแกรมให้อยู่ในประเภท ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เราๆทั้งหลายสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งบนระบบปฏิบัติการที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่ได้ อาทิเช่น Windows, Linux และ Mac OS ได้ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่เป็นฟรีแวร์จุดสังเกตุนั้นสามารถอธิบายได้ดังนี้ สามารถโหลดโปรแกรมได้จากเว็บไซต์ผู้พัฒนาโดยตรง จะเห็นประเภทของซอฟต์แวร์ที่เขียนไว้ว่า “Freeware” หรือหากเป็นภาษาไทยก็จะเขียนว่า “ฟรีแวร์” จะระบุขนาดของซอฟต์แวร์ประเภทฟรีแวร์หรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนมากจะถูกระบุขนาดของซอฟต์แวร์ไว้ จะระบุระบบปฏิบัติการไว้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดได้ตรงกับระบบปฏิบัติการที่เลือก บางซอฟต์แวร์ก็จะมีเฉพาะระบบปฏิบัติการเดียวเท่านั้น แต่บางซอฟต์แวร์ก็จะแยกไว้ให้ดาวน์โหลดเฉพาะระบบปฏิบัติการนั้นๆอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกอย่างก็คือหลังจากที่ดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นๆมาแล้ว และติดตั้งพร้อมใช้งาน จะไม่มีเมนูการสั่งซื้อสินค้าหรือโปรแกรม หรือซื้อใบอนุญาติ (License) ในการใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ และบางโปรแกรมก็อาจจะมีโฆษณาแทรกเข้ามาให้รำคาญกันบ้างเล็กน้อย แต่ก็เป็นวิธีการสร้างรายได้ให้กับโปรแกรม Freeware เหล่านั้น เพื่อให้พวกทีมพัฒนามีงบประมาณในการพัฒนาต่อไป เพราะฉะนั้นก็เห็นใจซึ่งกันและกัน หากสนใจโฆษณาก็จะช่วยผู้พัฒนาโปรแกรมทำการคลิกดูบ้างก็ไม่เสียหายอะไร ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็นโปรแกรม KMPlayer นั่นเอง นอกจากนี้โปรแกรม Freeware ยังมีจุดสังเกตุอยู่อีก 1 อย่าง และเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆก็คือในขณะที่ติดตั้งโปรแกรม ควรดูและอ่านให้ดีซักหน่อย เพราะว่าบางโปรแกรมก็จะมีการติ๊กเพื่อติดตั้งโปรแกรมอื่นๆนอกจากโปรแกรมที่เราดาวน์โหลดมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมแปลงไฟล์ Format Factory ซึ่งเวลาติดตั้ง จะมีการติ๊กโปรแกรมอื่นๆที่แทรกเข้ามา หากเราไม่ต้องการก็ติ๊กออกก็ได้ ซึ่งส่วนนี้ก็จะเป็นสิทธิ์ของเราในการติดตั้งโปรแกรมลงคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง…

ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร?

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ Application Software เป็นซอฟต์แวร์อีกประเภทที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์รู้จักกันและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เห็นได้โดยทั่วๆไป ถูกสร้างจากโปรแกรมเมอร์มากหน้าหลายตา มีทั้งของฟรีและของเสียเงิน โดยส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ผู้พัฒนา และเว็บไซต์ของผู้เผยแพร่ซอฟต์แวร์อย่างเว็บไซต์เรา เราสามารถอธิบายได้ 2 ประเภทดังนี้ ซอฟต์แวร์ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ซอฟต์แวร์เสียเงิน (มีค่าใช้จ่าย) โดยเราจะดูไปทีละอย่างว่าแต่ละอย่างนั้นยังสามารถแยกออกไปได้เป็นข้อย่อยๆอีกด้วย ซอฟต์แวร์ฟรี ซอฟต์แวร์ฟรีหลักๆแล้วสามารถที่จะแบ่งออกได้ดังนี้ Freeware (ฟรีแวร์) – โปรแกรมฟรีที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานได้แบบฟรีๆ ไม่มีข้อผูกมัดใดๆทั้งสิ้น อาจจะมีข้อตกลงในการใช้งาน เงื่อนไขของการใช้งาน เป็นต้น หากจะยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัด ก็คงขอยกตัวอย่างโปรแกรม Line PC ซึ่งเอาไว้แชทมันๆและหลายๆคนก็รู้จักกันเป็นอย่างดี Open Source (โอเพนซอร์ซ) – โปรแกรมที่เป็นของฟรีเช่นกัน แต่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา Application เหล่านั้นได้อีกด้วย เช่นพัฒนาส่วนเสริมของ Firefox เป็นต้น Free Trial (ทดลองใช้) – จะว่าเป็นโปรแกรมฟรีเลยก็ไม่ใช่ และจะว่าเป็นโปรแกรมเสียเงินเลยก็ไม่ใช่ เพราะว่าสามารถใช้งานฟรีได้ตามเวลาที่กำหนด เป็นระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้ฟรีตามจุดประสงค์เพื่อให้ทดลองใช้งานโปรแกรมก่อนที่จะทำการซื้อใช้งาน หากมีความพึงพอใจในโปรแกรมนั้นๆแล้ว สามารถสั่งซื้อเพื่อใช้งานได้อย่างถาวรได้ ยกตัวอย่างเช่นโปรแกรม…

ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร?

Operating System

วันนี้เราจะมาเจาะลึกในเรื่องของซอฟต์แวร์ระบบกันแบบจริงๆจังๆ ซึ่งจะต่อจากบทความที่เราเคยกล่าวถึงประเภทของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กันไปเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว ซอฟต์แวร์ระบบที่ว่าก็คือซอฟต์แวร์ที่จะอยู่ใกล้กับฮาร์ดแวร์มากที่สุด หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือซอฟต์แวร์ที่เอาไว้จัดการฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ คอยสั่งให้ฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นส่วนทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะมาดูกันแบบละเอียดๆว่าซอฟต์แวร์ระบบมีกี่ประเภท และมีอะไรบ้างดังต่อไปนี้ ซอฟต์แวร์ระดับไบออส (BIOS) – ในส่วนของซอฟต์แวร์สำหรับ BIOS จะเป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ใกล้กับฮาร์ดแวร์มากที่สุด เราจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ไม่สามารถแก้ไขส่วนของตัวโปรแกรมได้ ส่วนมากจะถูกติดตั้งซอฟต์แวร์มาจากโรงงาน หรือทางผู้ผลิตเลย แต่เราสามารถอัพเดตซอฟต์แวร์ของ BIOS ได้ (Flash BIOS) หรือเรียกอีกอย่างว่าการอัพเดท Firmware (เฟิร์มแวร์) ให้กับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) – เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่อยู่ใกล้กับเรามากที่สุด ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการในปัจจุบันก็มีให้เห็นกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ Windows, Linux และ Mac OS ส่วนระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆก็ได้แก่ Chrome OS เป็นต้น ส่วนระบบปฏิบัติการที่อยู่ในโทรศัพท์มือถืออย่างเช่น iPhone ก็คือว่าเป็นซอฟต์แวร์ระบบเช่นกัน